วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัย

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์
เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
3. กิจกรรมเสรี
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา
เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน
อ้างอิงมาจาก: แผนการจัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการการปถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ







เทคนิคการใช้สื่อการสอนเป็นกลวิธีในการใช้สื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สื่อการสอนเป็นตัวกลางนำความรู้จากครูไปสู่เด็กทำให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ช่วยให้เด็กเข้าใจง่าย รวดเร็ว เพลิดเพลิน สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นสื่อของจริงเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสคือ การมอง การฟัง การสัมผัส การดมกลิ่นและการชิมรส สื่อเป็นสิ่งเร้าที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้
เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษาจากการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น จากการฟังคนพูดและขณะทำกิจกรรมในสถานการณ์ต่างๆ เด็กจะพยายามเข้าใจในสิ่งที่เขาได้ยินและแสดงออกด้วยความตั้งใจในสิ่งที่เขาทำได้ อายุ 3 – 4 ปี สามารถเรียนรู้ความซับซ้อนของประโยคได้ เรียนรู้กฎของภาษาจากภาษาพูดที่เขาได้ยิน สามารถสร้างประโยคขึ้นใหม่ในการสื่อสารมากกว่าการเรียนแบบ มีคำศัพท์ที่ใช้ในการพูดมากกว่า 1000 คำ เรียนรู้คำและความหมายโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและสิ่งของหรือพฤติกรรม เช่น เด็กเรียนรู้คำว่า ตุ๊กตา เมื่อแม่ยื่นตุ๊กตาให้แล้วบอกว่า ตุ๊กตา ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากการเชื่อมโยงกับสิ่งของ การเรียนรู้จะง่ายขึ้นถ้าเด็กมีประสบการณ์เดิมมาก่อน ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญของของการแสดงความคิด
การฝึกทักษาทางภาษาประกอบด้วยการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ของเด็กปฐมวัยมุ่งเน้นการสื่อสารอย่างมีความหมายโดยใช้ภาษาในสถานการณ์จริง

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่17

27/03/54

สอบการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์(นางสาวกาญจนา ดรบุราณ)

สอนการนับจำนวนฝาน้ำอัดลม

ข้อควรปรับปรุง

-สอนการจับคู่
-ควรบอกถึงโทษของสิ่งที่นำมา
-การนำวัสดุจับคู่ไม่ชัดเจนมากพอ

บันทึกครั้งที่16

17/02/54

อาจารย์สอนขอบข่ายทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
มีการยกตัวอย่างบนกระดาน และมีการยกมือตอบในชั้นเรียนด้วย

บันทึกครั้งที่15

10/02/54

อาจารย์ให้นำเกมของแต่ละคนมาวิเคราะห์

-เกมจับคู่ภาพสัตว์
-เกมจับคู่รอยเท้า
-เกมจิ๊กซอรูปผีเสื้อ
-เกมจิ๊กซอรูปคนข้ามถนน
-เกมจิ๊กซอรูปฝนตก
-เกมต่อภาพจำนวนที่เท่ากัน
-เกมพื้นฐานการบวก
-เกมจับคู่ภาพด้วยอุปมาอุปไมย
-เกมจัดหมวดหมู่ภาพด้านหน้า ด้านกลาง
ด้านหลัง
-เกมจับคู่ภาพซ้อน
-เกมจับคู่ภาพที่แทนจำนวนสัญลักษณ์

บันทึกครั้งที่14

03/02/54

วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเนื้อหาการใช้กิจกรรมศิลปะโดยการเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอาจารย์มีรูปแบบการสอนโดย powerpoint นำเสนอโดยให้นักศึกษาได้เห็นถึงกิจกรรม
ต่างๆเกี่ยวกับตณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

บันทึกครั้งที่13

27/01/54

ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน คิดหน่วยการเรียนรู้ทำ

Mind map การใช้ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์ เขียนแผนการจัดประสบการณ์4วัน

โดยสอดแทรกกระบวนการทางคณิศาสตร์เขียนแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรม

บัททึกครั้งที่12

เรียนเกี่ยวกับเรื่องคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เช่นการนับวันที่ เวลา
ความสูง ความยาว อุณหภูมิ ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาแส่งที่ทำ

บันทึกครั้งที่10-11

การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนที่มีขอบข่ายทางคณิศาสตร์โดยบนกระดานคุณครูจะเขียนจำนวนเลขตั้งแต่1-10ทั้งตัวเลขไทยและอาราบิคและมีการนำผลงานของเด็กมาติดด้วย

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่8-9

ไม่มีการเรียนการสอน(สอบกลางภาค)

บันทึกครั้งที่6-7
















วันที่29พฤศจิกายน-14ธันวาคม2553

สังเกตการสอนโรงเรียนบางบัว(เพ่งตั้งตรงจิตวิทยาคาร)




















บันทึกครั้งที่5

วันที่25พฟศจิกายน2553

ไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกครั้งที่4

วันที่18พฤศจิกายน2553

ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต










































วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่3

12 พ.ย.2553

เนื่องจากวันที่11พ.ย.2553อาจารย์ติดประชุมจึงนัดนักศึกษาสอนชดเชย

อาจารย์ให้ร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่คาดว่าจะได้รับ

หรือสิ่งที่คาดหวังจากวิชานี้

บันทึกครั้งที่2

วันพฤหัสบดีที่11พฤศจิกายน2553

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม